เอกสารเผยแพร่
ถาม-ตอบ เกี่ยวกับ Open Data
1. Open Data คืออะไร
ข้อมูลเปิดที่ทุกคนสามารถนำไปใช้ได้โดยอิสระ เช่นการนำไปใช้ การนำกลับมาใช้ใหม่ หรือนำไปเผยแพร่ได้โดยใครก็ตาม ซึ่งข้อมูลทั้งหมดที่อยู่บนเว็บไซต์ data.go.th นี้ เป็นข้อมูลเปิดของภาครัฐ (Open Government Data)
2. หัวใจสำคัญของ Open Data คืออะไร
หัวใจของ Open Data นั้นแบ่งเป็น 3 ประการคือ
1. Availability and Access คือ ข้อมูลที่เปิดเผยต้องสามารถใช้งานได้ทั้งหมดและกรณีที่มีค่าใช้จ่ายจะต้องไม่มากไปกว่าการทำสำเนา สำหรับการเผยแพร่จะต้องอยู่ในรูปแบบที่ง่ายต่อการใช้งานและสามารถแก้ไขได้ สามารถดาวน์โหลดฟรีผ่านอินเตอร์เน็ต
2. Re-use and Redistribution คือ ข้อมูลที่เผยแพร่ต้องถูกจัดเตรียมภายใต้เงื่อนไข การอนุญาตให้นำมาใช้ใหม่และเผยแพร่ได้ รวมถึงการใช้ชุดข้อมูลร่วมกับชุดข้อมูลอื่น ๆ
3. Universal Participation คือ ทุกคนสามารถที่จะใช้ข้อมูลได้ ไม่ว่าจะเป็นการนำไปใช้ การใช้ซ้ำ การเผยแพร่ โดยไม่ติดเรื่องข้อจำกัดใดๆ แต่ทั้งนี้จะต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของเจ้าข้อมูลนั้นๆ เช่น หากเป็นข้อมูลที่ไม่อนุญาตให้ใช้งานเชิงพาณิชย์ (non-commercial) จะไม่สามารถนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ได้ หรือข้อมูลนั้นอาจมีข้อจำกัดในการใช้งานเพื่อวัตถุประสงค์บางอย่างเช่น ใช้ในการศึกษาเท่านั้น ก็จะไม่สามารถนำไปใช้ได้
**ซึ่งหัวใจสำคัญทั้ง 3 ประการนี้เป็นความสำคัญที่สนับสนุนให้เกิดการทำงานร่วมกัน (interoperability) อย่างเป็นรูปธรรม
3. ประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้ Open Data มีอะไรบ้าง
- Transparency เป็นการเปิดเผยข้อมูลของภาครัฐให้ประชาชนและภาคประชาสังคมเข้าถึงข้อมูลและสามารถตรวจสอบการดำเนินของภาครัฐตามนโยบายที่ประกาศให้ไว้กับประชาชน
- Releasing social and commercial value ในยุคดิจิตอลข้อมูลเป็นทรัพยากรที่สำคัญสำหรับสร้างนวัตกรรม การเปิดเผยข้อมูลของภาครัฐเป็นแหล่งข้อมูลหนึ่งที่ช่วยผลักดันการสร้างนวัตกรรมและบริการใหม่ๆเผยแพร่สู่สังคมและเชิงพาณิชย์
- Participation and engagement ประชาชนซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นต่อการดำเนินงานของภาครัฐ ที่มีผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ รวมทั้งนำความคิดเห็นดังกล่าวไปประกอบการพิจารณากำหนดนโยบายและการตัดสินใจของภาครัฐเป็นการสร้างปฏิสัมพันธ์ กับประชาชนมากขึ้น
4. ประเภทของ License ข้อมูลที่อยู่บนเว็บไซต์ data.go.th คืออะไร
ในปัจจุบันข้อมูล ที่อยู่บนเว็บไซต์ data.go.th จัดอยู่ในประเภทของ Non-exclusive licence เจ้าของลิขสิทธิ์สามารถใช้สิทธิในงานนั้นเอง และอนุญาตให้บุคคลอื่นใช้สิทธิในงานนั้นได้อีก
5. ใครสามารถนำ Open Data ไปใช้ได้บ้าง
ทุกคนในประเทศไทยสามารถนำข้อมูล Open Data ไปใช้งานได้ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภาครัฐ หรือภาคเอกชน ตลอดจนการนำข้อมูลเหล่านี้ไปทำการวิจัยค้นคว้าเชิงข้อมูลก็สามารถทำได้ไม่ติดข้อจำกัดใดๆ
6. จะใช้งาน Open Data ต้องทำอย่างไร
ผู้ใช้งานสามารถดาวน์โหลดไฟล์ชุดข้อมูลในรูปแบบต่างๆ ตามที่ต้องการในแต่ละหัวข้อที่ปรากฏบนเว็บไซต์ได้ด้วยตนเอง
7. การนำ Open License มาใช้ (การเปิดกว้างในทางกฎหมาย) ต้องทำอย่างไร
ในขอบเขตอำนาจศาลส่วนใหญ่ จะมีเรื่องของสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาในข้อมูลที่ป้องกันบุคคลที่สามจากการใช้งาน การนำกลับมาใช้ใหม่ และการแจกจ่ายข้อมูลโดยไม่ได้รับการอนุญาตที่ชัดเจน ดังนั้น การที่จะทำให้ข้อมูลของหน่วยงานสามารถให้ผู้อื่นนำไปใช้ได้ จะต้องใส่ license เข้าไปที่ข้อมูลเหล่านั้น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการใช้งานที่ผิดวัตถุประสงค์ของชุดข้อมูล
License ที่หน่วยงานสามารถใช้ได้นั้นสำหรับข้อมูลที่ “เปิดเผย” สามารถใช้ license ที่สอดคล้องกับ Open Definition และทำการระบุว่าเหมาะสมสำหรับข้อมูลรายการที่ว่านี้ (พร้อมกับวิธีการใช้งาน) สามารถหาได้ที่ http://opendefinition.org/licenses/
8. ลักษณะของชุดข้อมูลที่เหมาะสมในการนำขึ้นเผยแพร่ มีอะไรบ้าง
ลักษณะของชุดข้อมูลที่เหมาะสมในการนำขึ้นเผยแพร่มีดังนี้
1. รูปแบบชุดข้อมูลควรอยู่ในรูปแบบเป็นตารางหรือรูปแบบที่มีโครงสร้าง เช่น CSV, XLS, XLSX, XML, JSON ทั้งนี้เพื่อให้ข้อมูลที่เผยแพร่ได้มีการนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ โดยท่านสามารถศึกษารายละเอียดในการจัดเตรียมข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบ Machine Readable ได้ที่หน้า “เอกสารเผยแพร่” https://data.go.th/pages
2. เนื้อหาข้อมูลควรมีลักษณะเป็นตัวเลขสถิติ ตัวอย่างเช่น
- จำนวนผู้ติดเชื้อ COVID-19 ประจำวัน - https://data.go.th/dataset/covid-19-daily
- ข้อมูลปริมาณขยะมูลฝอย - https://data.go.th/dataset/garbage
- ปริมาณน้ำฝนรายเดือน - https://data.go.th/dataset/monthly-rainfall
- ข้อมูลผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน จากระบบบูรณาการข้อมูลการตายจากอุบัติเหตุทางถนน (3 ฐาน) - https://data.go.th/dataset/rtddi
ซึ่งสามารถสังเกตได้ว่าข้อมูลที่ยกตัวอย่างจะมีการเก็บข้อมูลในลักษณะตาราง หรือเป็นข้อมูลที่เป็น Transaction หรือเป็นรายการ ซึ่งเป็นชุดข้อมูลที่เหมาะสมสำหรับการนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้อย่างเสรี
3. การเปิดเผยข้อมูลที่มีลักษณะเป็น URL ควรเป็น URL ที่ลิงค์ตรงไปยังข้อมูล ไม่ควรเป็นเว็บไซต์ของหน่วยงานหรือ Facebook Page เนื่องด้วยไม่ได้เป็นข้อมูลในรูปแบบที่เหมาะสมในการเผยแพร่บนระบบ ตัวอย่างเช่น
- ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศรายไตรมาส - https://data.go.th/dataset/seksan-thaisuwan
ทั้งนี้การเลือกชุดข้อมูลควรคำนึงถึงการนำไปใช้ประโยชน์เป็นสำคัญ และเนื้อหาข้อมูลต้องไม่มีข้อมูลส่วนบุคคลอันขัดต่อพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA)
9. การทำให้ข้อมูลพร้อมใช้งาน (การเปิดกว้างในทางเทคนิค) ต้องทำอย่างไร
Open data จำเป็นที่จะต้องเปิดกว้างในทางเทคนิคเช่นเดียวกับในทางกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้อมูลจะต้องมีความพร้อมในการใช้งานในรูปแบบที่เครื่องสามารถอ่านได้ โดยยังพิจารณาใน 3 ประเด็นหลักคือ
1. ความพร้อมใช้งาน - ข้อมูลควรจะมีราคาไม่มากกว่าค่าใช้จ่ายในการทำสำเนาข้อมูล ซึ่งควรจะเป็นการให้ดาวน์โหลดฟรีจากอินเตอร์เน็ต ทำให้หน่วยงานไม่มีภาระค่าใช้จ่ายใดๆในการจัดเตรียมข้อมูลไว้ให้ใช้งาน
2. กลุ่มข้อมูล - ข้อมูลควรอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ เช่น ข้อมูลทะเบียนที่ถูกเก็บรวบรวมภายใต้กฎข้อบังคับทั้งหมดนั้นควรจะมีพร้อมสำหรับดาวน์โหลดได้ ส่วน web API หรือ service ที่คล้ายๆ กันนั้นอาจมีประโยชน์มาก แต่ไม่ใช่ตัวแทนของการเข้าถึงกลุ่มข้อมูล
3. อยู่ในรูปแบบที่เปิดและเครื่องสามารถอ่านได้ - การนำข้อมูลที่ถือครองโดยภาครัฐมาใช้ไม่ควรจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับข้อจำกัดด้านสิทธิบัตร และที่สำคัญต้องแน่ใจได้ว่าสามารถจัดเตรียมข้อมูลในรูปแบบที่เครื่องสามารถอ่านได้สำหรับการนำไปใช้งานในวงกว้าง เช่นรายงานทางสถิติที่ตีพิมพ์เป็นเอกสาร PDF (Portable Document Format) ซึ่งมีความยากมากสำหรับคอมพิวเตอร์ในการนำข้อมูลในรูปของ PDF ไปใช้งานต่อ
10. ประเภทของชุดข้อมูลที่ปรากฏอยู่บน เว็บไซต์ data.go.th มีอะไรบ้าง
1. CSV: comma-separated values คือ Text File สำหรับเก็บข้อมูลแบบตาราง โดยใช้จุลภาค (,) แบ่งข้อมูลในแต่ละหลัก (Column) และใช้การเว้นบรรทัดแทนการแบ่งแถว (Row)
2. XLS: (ไฟล์เอกสาร Microsoft Excel) คือ ไฟล์ประเภทสเปรดชีต (spreadsheet) หรือตารางคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ ที่ใช้ในการเก็บบันทึกข้อมูลในลักษณะต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะเก็บข้อมูลประเภทคำนวณ โดยเก็บข้อมูลลงในตารางสี่เหลี่ยมที่เรียกว่า เซล (Cell) ที่สามารถนำเอาเซลมาอ้างอิงใส่ในสูตร เพื่อให้โปรแกรมคำนวณหาผลลัพธ์จากข้อมูลที่บันทึกไว้ได้
3. PDF: Portable Document Format (PDF) คือไฟล์ที่ถูกสร้างจากโปรแกรม Adobe Acrobat หรือโปรแกรมประเภท PDF Creator เหมาะสำหรับการทำเอกสารตัวอย่าง, ใบเสนอราคา, Manual, Sample Picture หรือเอกสารอื่นๆ ซึ่งปัจจุบันเป็นที่นิยมอย่างมากในการทำ e-Document หรือ e-Paper ต่างๆ เนื่องจากไฟล์ที่ได้นั้นจะมีคุณภาพสูง ไม่ผิดเพี้ยนจากต้นฉบับ และผู้ที่นำไฟล์ PDF ไปใช้งานไม่สามารถแก้ไขต้นฉบับได้ เนื่องจากเอกสารลักษณะนี้ มีรูปแบบ , ขนาดไฟล์ไม่ใหญ่มาก และสามารถทำงานข้ามระบบ (Cross Platform) ได้ ทำให้เอกสาร)ประเภท PDF เป็นอิสระจากซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และระบบปฏิบัติการ (OS) สามารถสร้างได้ทั้งจากเครื่องคอมพิวเตอร์ระบบ Macintosh และ PC Computer และยังรองรับการอ่านข้อมูลผ่านทาง web page
4. DOC: (ไฟล์เอกสาร Microsoft Word) คือ ไฟล์เอกสารประเภทข้อความ ที่อยู่ในรูปแบบไฟล์ไบนารีและประกอบด้วยพื้นของกรอบและบันทึกที่มุ่งเน้นข้อความ, การจัดรูปแบบหน้า กราฟแผนภูมิ ตารางภาพ และเอกสารอื่น ๆ ที่มีเนื้อหาที่ถูกสร้างขึ้นและแก้ไขเนื้อหาของเอกสารได้ ทั้งยังสามารถพิมพ์ในขนาดต่างๆและมีความสามารถในการแสดงบนอุปกรณ์ที่แตกต่างกัน ให้ระบบปฏิบัติการสามารถอ่านไฟล์ DOC รูปแบบไบนารีของไฟล์ Word
5. XML: Extensible Markup Language (XML) คือ ภาษาที่ใช้ในการแสดงผลข้อมูล หากเปรียบเทียบกับภาษา HTML จะแตกต่างกันที่ HTML ถูกออกแบบมาเพื่อการแสดงผลอย่างเดียวเท่านั้น เช่นให้แสดงผลตัวเล็ก ตัวหนา ตัวเอียง แต่ภาษา XML นั้นถูกออกแบบมาเพื่อเก็บข้อมูล โดยทั้งข้อมูลและโครงสร้างของข้อมูลนั้นๆไว้ด้วยกัน ส่วนการแสดงผลก็จะใช้ภาษาเฉพาะซึ่งก็คือ XSL (Extensible Stylesheet Language)
6. RDF: Resource Description Framework (RDF) ตามที่ W3C ได้บอกไว้ คือการอธิบายถึงทรัพยากรของเว็บ เช่น ชื่อไตเติ้ล ผู้เขียน วันที่ปรับปรุง และข้อมูลลิขสิทธิ์ของเว็บเพจ ไฟล์ประเภท RDF ได้รับการออกแบบขึ้นมาเพื่อให้คอมพิวเตอร์ หรือ แอพพลิเคชันของคอมพิวเตอร์ อ่านและเข้าใจ แต่ไม่ได้รับการออกแบบให้แสดงผลผ่านเว็บแก่ผู้ใช้ ต้องใช้ภาษา XML ซึ่งเมื่อมีการนำ XML มาใช้โดย RDF จะเรียกว่า RDF/XML
7. KML: Keyhole Markup Language คือไวยากรณ์และรูปแบบไฟล์ XML สำหรับการทำโมเดลและการจัดเก็บคุณลักษณะทางภูมิศาสตร์ เช่น จุด เส้น ภาพ รูปหลายเหลี่ยม เช่นเดียวกับโมเดลที่แสดงใน Google Earth, Google Maps และแอปพลิเคชันอื่นๆ โดยสามารถใช้ KML เพื่อเผยแพร่สถานที่และข้อมูลกับผู้ใช้แอปพลิเคชันรายอื่นๆ ซึ่งไฟล์ KML ได้รับการประมวลผลโดย Google Earth ด้วยวิธีเดียวกับที่ไฟล์ HTML และ XML ได้รับการประมวลผลโดยเว็บเบราว์เซอร์ มีโครงสร้างพื้นฐานเป็นแท็ก ที่มีชื่อและแอตทริบิวต์ที่ใช้เฉพาะสำหรับการแสดงผล
8. SHP: Esri Shape file คือ ไฟล์ที่ประกอบด้วยข้อมูลเวคเตอร์แต่ละประเภท ซึ่งแต่ละเวคเตอร์ประกอบ จะประกอบเป็น Shape File ที่อ้างอิงพิกัด UTM สำหรับ Shape file นั้นหมายถึง ข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ประเภทหนึ่งที่เก็บข้อมูลอยู่ในรูปของเวคเตอร์ (Vector) ใน 3 ลักษณะ คือ จุด (Point) เส้น (Line) และรูปปิด (Polygon) มีการแยกเก็บออกเป็นแต่ละชั้นข้อมูล (Layer) โดยที่ Shape File หนึ่งจะประกอบด้วยไฟล์อย่างน้อย 3 ไฟล์ที่มีการอ้างถึงกันและกันและไม่สามารถขาดไฟล์ใดไฟล์หนึ่งไปได้
9. ODS: The Open Document Format for Office Applications (ODF), คือ ไฟล์งานตารางคำนวณ ในรูปแบบ XML based สำหรับ spreadsheets ซึ่งมีลักษณะการทำงานเหมือนกับไฟล์ EXCEL เป็นโปรแกรมโอเพ่นสอร์สออฟฟิศ
10. KMZ: (KML-Zipped) คือ ไฟล์ KML ที่ถูกบีบอัด (ZIP) ไว้ ซึ่งภายใน KMZ จะประกอบไปด้วย ไฟล์ KML และไฟล์รูปภาพ และอาจจะมีไฟล์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง เช่น COLLADA model file และ Texture file ซึ่งจุดเด่นของไฟล์ KMZ คือ เมื่อบีบอัดไฟล์ KML แล้วจะมีขนาดที่เล็กลงมาก ทำให้สามารถใส่รูปภาพได้มากขึ้น
11. JSON: JavaScript Object คือ ฟอร์แมตสำหรับแลกเปลี่ยนข้อมูลคอมพิวเตอร์ ซึ่งฟอร์แมต JSON อยู่ในรูปข้อความธรรมดา (plain text) ที่ทั้งมนุษย์และโปรแกรมคอมพิวเตอร์สามารถอ่านเข้าใจได้
12. TXT คือ ไฟล์เอกสารต่าง ๆ ที่มีแต่ตัวอักษร ใช้โปรแกรม notepad หรือโปรแกรม text editor อื่น ๆ ในการเปิดใช้งาน
13. HTML: Hypertext Markup Language (HTML) คือ ไฟล์ข้อความที่เก็บแท็ก markup (markup tag) ขนาดเล็ก สามารถใช้ในการรวมคุณลักษณะการจัดรูปแบบบางอย่างและข้อกำหนดรูปแบบในเนื้อหาของหน้าเว็บเพจได้ แต่ไฟล์ประเภท HTML ไม่สามารถใช้ทำเว็บอร์ด, register form หรืออะไรที่มันต้องเก็บข้อมูลได้ โดยไฟล์ HTML ใช้สำหรับการดู web site ผ่าน Browser ต่าง ๆ เช่น Netscape, IE, Opera และ Browser อื่นๆ รวมทั้งโปรแกรม Text Editor ทั่วไป
14. TIFF: Tagged-Image File Format คือ รูปแบบไฟล์ที่มีการจัดเก็บแบบ Bitmap เหมาะสำหรับการจัดเก็บภาพที่นิยมในอุตสาหกรรมการพิมพ์และช่างภาพ ซึ่งมีขนาดไฟล์ที่ใหญ่กว่า JPG แต่สามารถเก็บข้อมูลภาพ ที่มีความลึกสี (bit depth) ได้หลายแบบ อาทิ 8-bit หรือ 16-bit หรือแม้แต่ 24-bit ทำให้สามารถนำไฟล์ไปใช้งานกับ สิ่งพิมพ์ หรืองานที่ต้องการคุณภาพมากๆได้
15. JPEG: Joint Photographic Experts Group คือ ไฟล์ JPG เป็นไฟล์ภาพที่ถูกนำมาใช้สำหรับการจัดเก็บภาพถ่ายดิจิตอล เนื่องจากมีความละเอียดภาพสูงและไฟล์มีขนาดเล็ก สามารถเก็บภาพสีได้หลากหลายระดับความแม่นยำของสี (Bit Depth) ซึ่งความสามารถในการย่อขนาดไฟล์ของแฟ้ม JPEG นั้นเกิดจากการใช้เทคนิคการย่อขนาดภาพแบบการบีบอัดคงข้อมูลหลัก (Lossy Compression) หรือการบีบอัดแบบมีความสูญเสียทำให้ไม่นิยมใช้กับภาพที่เป็นลายเส้นหรือไอคอนต่าง ๆ
11. Open Government Data เหมือนหรือแตกต่างจาก พรบ.ข้อมูลข่าวสารฯ อย่างไร
พรบ.ข้อมูลข่าวสารฯ 2540 | Open Government Data | |
วัตถุประสงค์ | เปิดเผยข้อมูลทั่วไป ตามมาตรา 7 และมาตรา 9 เป็นลักษณะการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารให้ประชาชนทราบ | เปิดเผยข้อมูลที่ไม่เฉพาะเจาะจง แต่ข้อมูลนั้นจะต้องสามารถนำไปใช้สร้างประโยชน์ในด้านต่างๆ ได้ เช่น ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน พัฒนารูปแบบธุรกิจ สินค้า และบริการใหม่ๆ ได้ |
ประโยชน์ | - สร้างความโปร่งใสให้กับหน่วยงาน - ประชาชนเข้าถึงข้อมูลของหน่วยงานได้ |
- สร้างความโปร่งใสและความเป็นประชาธิปไตย - เพิ่มประสิทธิภาพของบริการภาครัฐ - สร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน - พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการแบบใหม่ๆ ที่ดีขึ้น - สร้างนวัตกรรมใหม่ๆ |
ตัวอย่างชุดข้อมูล | เปิดเผยตามมาตรา 7 และ 9 | - ตามกฎหมายกำหนด เช่น ข้อมูลจัดซื้อจัดจ้าง ข้อมูลการใช้จ่ายงบประมาณ เป็นต้น - ตามภารกิจของหน่วยงาน เช่น ข้อมูลการเก็บสถิติต่างๆ ข้อมูลปริมาณน้ำฝน ข้อมูลการระบาดของโรค ข้อมูลการจดทะเบียนนิติบุคคล เป็นต้น - เปิดเผยข้อมูลที่เป็นที่ต้องการของผู้ใช้งานในวงกว้าง เช่น ข้อมูลการจราจร (แบบ Real Time) ข้อมูลแผนที่ พิกัด ที่ตั้ง เป็นต้น |
รูปแบบข้อมูล | เปิดเผยในรูปแบบใดๆ ก็ได้ | รูปแบบของ Excel (XLS) เป็นอย่างน้อย หรือในรูปแบบ Comma-Separated Value (CSV) หรือ Open Document Spreadsheet (ODS) |
12. รูปแบบข้อมูล (Data format) ที่เป็นไปตามหลักการของ Open Data คืออะไร
Data.go.th ได้มีการกำหนดระดับการเปิดเผยข้อมูล เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถพิจารณาถึงการนำไปใช้ได้สะดวกมากยิ่งขึ้น เรียงลำดับจาก 1 - 5 ดาว ซึ่งระดับ 5 ดาวนั้นอยู่ในระดับการเปิดเผยข้อมูลแบบสูงสุด ดังนี้
ระดับการเปิดเผย (Openness) | รายละเอียด |
★☆☆☆☆ (1 ดาว) | เผยแพร่ข้อมูลในทุกรูปแบบบนเว็บไซต์ และอยู่ภายใต้เงื่อนไขและข้อกำหนดของสัญญาอนุญาต Open License |
★★☆☆☆ (2 ดาว) | เผยแพร่ข้อมูลในรูปแบบ Structured data ที่เครื่องสามารถอ่านได้ (Machine-readable) เช่น ข้อมูลอยู่ในรูปแบบไฟล์ Excel |
★★★☆☆ (3 ดาว) | เผยแพร่ข้อมูลในรูปแบบ Non-proprietary format เช่น ข้อมูลในรูปแบบ CSV แทนรูปแบบ Excel |
★★★★☆ (4 ดาว) | ใช้ URI (Uniform Resource Identifier) ในการระบุตัวตนของข้อมูล และชี้ไปยังตำแหน่งของข้อมูลนั้น |
★★★★★ (5 ดาว) | ข้อมูลมีการเชื่อมโยงไปสู่แหล่งข้อมูลอื่นๆ ในบริบทที่เกี่ยวข้องกันได้ |
การเผยแพร่ชุดข้อมูลบน Data.go.th ควรจะกำหนดรูปแบบข้อมูลที่จะเผยแพร่อย่างน้อยระดับ 3 ดาว ซึ่งหมายถึง ข้อมูลจะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขและข้อกำหนดของสัญญาอนุญาต Open License เครื่องสามารถอ่านได้ (Machine-readable) และไม่มีผู้ใดถือครองกรรมสิทธิ์ (Non-proprietary) นั่นคือรูปแบบของ Comma-Separated Value (CSV) หรือ Open Document Spreadsheet (ODS) เป็นอย่างน้อย
ประเภทข้อมูลที่มีการจัดระดับการเปิดเผย (ระดับ 5 ดาวนั้นอยู่ในระดับการเปิดเผยข้อมูลแบบสูงสุด) มีดังนี้
ประเภทข้อมูล | ระดับการเปิดเผยข้อมูล |
PDF, DOC, TXT, TIFF, JPEG | ★☆☆☆☆ (1 ดาว) |
XLS | ★★☆☆☆ (2 ดาว) |
CSV, ODS, XML, JSON, KML, SHP, KMZ | ★★★☆☆ (3 ดาว) |
RDF (URIs) | ★★★★☆ (4 ดาว) |
RDF (Linked Data) | ★★★★★ (5 ดาว) |
13. ขั้นตอนและกระบวนการเผยแพร่ข้อมูล ต้องทำอย่างไร
หน่วยงานเจ้าของข้อมูล
1. คัดเลือกชุดข้อมูล
หน่วยงานจะต้องพิจารณาคัดเลือกชุดข้อมูลสำหรับเผยแพร่ ต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ รวมถึงความเป็นส่วนตัว (Privacy) และการรักษาความมั่นคงปลอดภัย (Security)
2. จัดเตรียมข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่มาตรฐานกำหนด
ต้องมีการจัดเตรียมหรือแปลงชุดข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่มาตรฐานกำหนด รวมถึงการจัดทำคำอธิบายชุดข้อมูลนั้นๆ เพื่อให้ผู้ใช้ข้อมูลสามารถเข้าใจเกี่ยวกับบริบทของข้อมูล เช่น วัตถุประสงค์ ขอบเขต วันที่เผยแพร่ ความถี่ในการปรับปรุงและเผยแพร่ แหล่งที่มาของข้อมูล เป็นต้น
3. นำชุดข้อมูลขึ้นเผยแพร่
หน่วยงานจะต้องกำหนดผู้รับผิดชอบหลัก ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานทำหน้าที่นำชุดข้อมูลขึ้นเผยแพร่สู่สาธารณะ โดยทำการสมัครเป็นสมาชิกของศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐเพื่อทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลระบบของหน่วยงานของตนเองผ่านระบบ Open Data Platform โดยใช้ Mailgothai หรือ OpenID (กรณีไม่มี Mailgothai) และได้รับการอนุมัติเป็นผู้ดูแลข้อมูลของหน่วยงานจากผู้บริหารสูงสุดขององค์กร ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงผู้รับผิดชอบหลักหรือผู้ดูแลระบบของหน่วยงาน ให้แจ้งกลับมายังศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐเพื่อดำเนินการลบหรือระงับบัญชีในทันที
14. การนำชุดข้อมูลเผยแพร่บนระบบ data.go.th จำเป็นต้องดำเนินการจัดทำตามหลักการธรรมาภิบาลภาครัฐ (Data governance) ให้เสร็จก่อนหรือไม่
ไม่จำเป็น สามารถพิจารณาการจัดเตรียมเนื้อหาข้อมูลในการจัดทำของชุดข้อมูลสำหรับเผยแพร่ ที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ เช่น พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ ระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ(Classification) รวมถึงความเป็นส่วนตัว (Privacy) และการรักษาความมั่นคงปลอดภัย (Security)
15. การทำ Classification ต้องทำให้เสร็จก่อนหรือไม่
ไม่จำเป็น หน่วยงานจะต้องดำเนินงานจัดทำหมวดหมู่ตามระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ เพื่อจำแนกข้อมูล ขอเพียงระบุชุดข้อมูลออกมาได้ สามารถนำมาเปิดเผยได้
16. หลักการธรรมาภิบาลภาครัฐมีส่วนส่งเสริมการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐอย่างไร
การนำหลักการธรรมาภิบาลภาครัฐมาใช้ในจัดการหรือกำกับดูแลข้อมูลของหน่วยงานอย่างถูกต้องเหมาะสมช่วยให้หน่วยงานสามารถบริหารจัดการข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ และได้รับข้อมูลที่มีคุณภาพ รวมทั้งสอดคล้องกับระเบียบ กฎหมายส่งผลที่ดีต้องการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐ
17. Data privacy ควรทำก่อนเปิดเผย บนระบบ data.go.th หรือไม่
ควรทำเพื่อปกป้องความเป็นส่วนตัวหรือข้อมูลที่มีความอ่อนไหว โดยใช้กลไกการปกป้องข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นการเข้ารหัส/ถอดรหัสข้อมูล (Data Encryption/Decryption) การสลับข้อมูล (Data Shuffling) หรือการปกปิดหรือปิดบังข้อมูล (Data Masking, Pseudonymize or Anonymize) สามารถทำความเข้าใจได้ผ่านลิงค์ด้านล่าง https://www.youtube.com/watch?v=68sdzIuIfAU
18. จะพัฒนา Data Catalog Service ของหน่วยงานควรเริ่มอย่างไร
Data Catalog Service เป็นบริการออนไลน์ สำหรับใช้วืบค้นหาข้อมูลของหน่วยงาน โดยต้องมีการเตรียมคำอธิบายข้อมูล และ เนื้อข้อมูลเป็นไฟล์สำหรับนำมาวางไว้บน Server ซึ่งติดตั้งซอฟต์แวร์ CKAN ไว้ทำงาน ซึ่งจะได้หน้าเว็บคล้าย Google หรือ สมุดหน้าเหลืองสำหรับให้มาพิมพ์ค้นหาข้อมูลที่ต้องการ
หน่วยงานที่ต้องการพัฒนา Data Catalog Service ของตนเองสามารถดาวน์โหลด TOR Template ของ สพร. ไปใช้ตั้งต้นได้ตามลิงค์ที่จัดเตรียมไว้ด้านล่าง (ไม่สงวนลิขสิทธิ์) ดัดแปลง แก้ไข ทำซ้ำได้
ใน TOR จะระบุงวดงาน ประมาณการและแจกแจงงบประมาณที่ต้องใช้ พร้อมคุณลักษณะต่าง ๆ ของระบบที่จะพัฒนาขึ้นมา อย่างไรก็ตาม หน่วยงานสามารถนำไปปรับแต่งได้ตามความเหมาะสม
มี 2 รูปแบบให้เลือก
1. แบบที่ต้องการใช้ CKAN เวอร์ชั่นที่ปรับปรุงเพิ่มเติมโดย สพร. (with DGA extension)
2. แบบที่หน่วยงานต้องการพัฒนาจาก CKAN เวอร์ชั่นต้นฉบับ ด้วยตนเอง (without DGA extension)
1. ขอบเขตการจ้างพัฒนาระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ (Government Data Catalog Portal) โดยใช้ส่วนเสริม (extension) ของระบบ CKAN จาก สพร. เป็นฐานการพัฒนา
https://data.go.th/uploads/page_images/2021-06-21-113649.785695TORCKAN-for-Data-Catalog-with-DGA-Extension.docx
2. ขอบเขตการจ้างพัฒนาระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ (Government Data Catalog Portal) โดยใช้ซอฟต์แวร์แบบเปิดเผยรหัส (Open Source) CKAN เป็นฐานการพัฒนา
https://data.go.th/uploads/page_images/2021-06-21-114518.708809TORCKAN-for-Data-Catalog-without-DGA-Extension.docx
ตัวซอฟต์แวร์ Data Catalog Service CKAN เวอร์ชั่นที่ปรับปรุงเพิ่มเติมโดย สพร. เผยแพร่เป็น Open Source ตามลิงค์ด้านล่าง
https://gitlab.nectec.or.th/opend/installing-ckan/-/blob/master/from-source.md?fbclid=IwAR10Fw3PRXAvsW6YEMcN08r8bdDySv2BjNaRpaALq5tpnAinTb3PMkxXI3Q
คลิบสอนการติดตั้งซอฟต์แวร์ดังกล่าว ดูได้ที่
https://www.youtube.com/watch?v=mkfSTWVzUjY
19. จะนำข้อมูลขึ้นเปิดเผยบน data.go.th ต้องทำอย่างไร
ท่านสามารถเข้าไปสมัครเป็น admin ของหน่วยงานได้ที่หน้าเว็บไซต์ data.go.th หรือคลิกที่ลิงค์ https://data.go.th/opend โดยสามารถศึกษารายละเอียดคู่มือการใช้งานได้ที่ลิงค์ https://data.go.th/pages/data-go-th-manual-doc และดูขั้นตอนการสมัครสมาชิก เปลี่ยนแปลงข้อมูล และการยกเลิกหรือระงับการใช้งานบัญชีผู้ใช้ได้ที่ https://data.go.th/pages/application-form