ศิลปวัฒนธรรมถือได้ว่าเป็นเอกลักษณ์สำคัญอย่างหนึ่งของประชาชาติในอาเซียน วัฒนธรรมดั้งเดิมของคนในภูมิภาคนี้ในขั้นเริ่มต้นมีพัฒนาการทางวัฒนธรรมที่ร่วมกัน แต่ในสมัยต่อมาได้มีการรับวัฒนธรรมทางศาสนาจากอินเดีย จากจีน และจากตะวันตกที่เกิดขึ้นในบางประเทศ ทำให้แต่ละประเทศในภูมิภาคนี้มีทั้งความเหมือนและความต่างทางวัฒนธรรม โดยเฉพาะงานศิลปกรรมที่เป็นส่วนหนึ่งของการสะท้อนความคิดและความเชื่อทางศาสนาของแต่ละชนชาติ ที่ปรากฏขึ้นในงานศิลปกรรมที่แตกต่างกัน ดังนั้น วิธีการทางประวัติศาสตร์ศิลปะ จึงเข้ามาทำการวิเคราะห์อธิบาย และแสดงให้เห็นถึงหลักฐานทางด้านศิลปกรรมของแต่ละประเทศในภูมิภาคอาเซียนว่ามีลักษณะรูปแบบที่มาเป็นอย่างไรในแต่ละยุคสมัย รวมถึงมีแสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์เฉพาะของศิลปกรรมของแต่ละประเทศ นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของผู้คนในประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคนี้ผ่านคติความเชื่อที่มีร่วมกัน ทว่ามีรูปแบบของงานศิลปกรรมที่แตกต่างกันไปแต่ละท้องถิ่นทางสังคม ซึ่งเป็นการสะท้อนถึงการผสมผสานศรัทธากับการสร้างสรรค์ผลงานศิลปกรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละดินแดนเช่นกัน
วันที่ปรับปรุงทรัพยากรล่าสุด | |
วันที่สร้างทรัพยากร | |
รูปแบบของไฟล์ชุดข้อมูล |
รหัสชุดข้อมูล | b45d68f1-ce4f-4e90-a3a7-d904d8c092de |
วันที่สร้างชุดข้อมูล | 14 ธันวาคม 2563 |
ขอบเขตเชิงภูมิศาสตร์ | Thailand |
กลุ่มชุดข้อมูล | ศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม |
ป้ายกำกับ | วัฒนธรรม ศิลปกรรม อาเซียน เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ |
ชื่อผู้ติดต่อ | ผู้ดูแลระบบ |
อีเมลผู้ติดต่อ | webmaster@sac.or.th |
ระดับในการเข้าถึงข้อมูล | สาธารณะ |
ความถี่ในการปรับปรุง | ไม่มีการปรับปรุง |
High Value Dataset | ไม่แสดง |
วันที่ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด | 21 มกราคม 2564 |
สัญญาอนุญาต | DGA Open Government License |





