บริการสุขภาพจิตกลุ่มวัยเรียนและวัยรุ่น โดยใช้โปรแกรมฉลาดรัก ฉลาดเลี้ยง (7 days parenting) - Open Government Data of Thailand
ขนาดตัวอักษร |    
บริการสุขภาพจิตกลุ่มวัยเรียนและวัยรุ่น โดยใช้โปรแกรมฉลาดรัก ฉลาดเลี้ยง (7 days parenting)
คะแนนความนิยม
องค์กร : กรมสุขภาพจิต
facebook   twiter

"- วัยเรียน โปรแกรมฉลาดรัก ฉลาดเลี้ยง (7 days parenting) เป็นโปรแกรมสำหรับบุคลากรสาธารณสุข และบุคลากรการศึกษาในการส่งเสริมและพัฒนาทักษะการเลี้ยงดูสำหรับผู้ปกครองและเด็กวัยเรียน อายุระหว่าง 6 - 12 ปี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 ให้สามารถสร้างความรักความผูกพัน สร้างวินัย และพัฒนาความฉลาดรอบด้านของเด็กวัยเรียนได้อย่างมีคุณภาพ ช่วยเพิ่มทักษะการเลี้ยงดูเด็กของพ่อแม่ ผู้ปกครอง เพื่อให้เด็กเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีความฉลาดรอบด้าน สามารถปรับตัวและเรียนรู้กับการเปลี่ยนแปลง ในโลกอนาคตได้อย่างมีความสุข เป็นพลเมืองสุขภาพจิตที่เก่ง ดี และมีความสุข โปรแกรมฉลาดรัก ฉลาดเลี้ยง (7 days parenting) เป็นกิจกรรมกลุ่มที่สามารถทำกับครอบครัวประมาณ 10 - 40 ครอบครัวพร้อมกัน โดยสัดส่วนประมาณ ผู้นำกลุ่ม 1 คน ต่อ 10 - 20 ครอบครัว ในกรณี ที่มีครอบครัวจำนวนมาก ใช้การแบ่งเป็นกลุ่มย่อย 3 กลุ่ม เพื่อให้ทุกครอบครัวสามารถร่วมกิจกรรมได้ อย่างทั่วถึง และสามารถขยายผลใช้ในพื้นที่ได้รวดเร็ว โปรแกรมประกอบด้วยกิจกรรมกลุ่ม 3 ครั้ง ได้แก่ กิจกรรมครั้งที่ 1 ฉลาดรัก กิจกรรมครั้งที่ 2 ฉลาดเลี้ยง และกิจกรรมครั้งที่ 3 ฉลาดดูแล ครั้งละประมาณ 3 ชั่วโมง ห่างกันครั้งละ 2 - 8 สัปดาห์ เพื่อให้เกิดการติดตามและนำไปใช้ที่บ้าน สามารถจัดในชุมชนหรือที่โรงเรียนตามบริบทของพื้นที่นั้น ๆ - วัยรุ่น โรคซึมเศร้าเป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านความคิด อารมณ์ และพฤติกรรมที่ผิดปกติ ไปจากเดิม ภาวะนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย ซึ่งสาเหตุของโรคซึมเศร้ามักเกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน เช่น พันธุกรรม โรคเรื้อรัง ปัญหาครอบครัว ปัญหาการเรียน ปัญหาความสัมพันธ์ เป็นต้น โดยอาการของวัยรุ่นที่มีอาการของโรคซึมเศร้าอาจไม่ได้แสดงออกเป็นอารมณ์เศร้าโดยตรง บางรายแสดงออกมาในรูปแบบอื่น ๆ ได้แก่ ขาดความสนใจในสิ่งที่เคยชอบ ไม่พึงพอใจในสิ่งที่เคยเป็นหรือกิจกรรมที่ทำแล้วมีความสุข หรือไม่พอใจผู้คนหรือการใช้ชีวิต บางรายอาจแสดงออกเป็นความหงุดหงิด ก้าวร้าวหรือเซื่องซึม น้ำหนักลดหรือเพิ่มโดยไม่ได้เกิดจากตั้งใจลดน้ำหนัก นอนไม่หลับหรือหลับมากไป อยู่ไม่ค่อยนิ่ง หรือเชื่องช้า ดูไร้เรี่ยวแรง หรือไม่ค่อยมีพลังงานในชีวิตประจำวัน รู้สึกไร้ค่าหรือรู้สึกผิดอย่างไม่เหมาะสม ขาดสมาธิ คิดช้าลงหรือตัดสินใจช้าลงบ่อย ๆ คิด/วางแผน/พยายาม/ฆ่าตัวตาย เด็กบางคนสามารถบอกได้ว่ารู้สึกเศร้าบ่อย ๆ เช่น รู้สึกเศร้า ท้อแท้ ว่างเปล่า หมดหวัง โดยอาการเหล่านี้ไม่ได้เกิดจากผลของการเจ็บป่วยทางร่างกาย สารเสพติดหรือไม่ใช่ปฏิกิริยาปกติหลังจากเหตุการณ์สูญเสีย หากมีอาการเข้าข่ายภาวะซึมเศร้าสามารถประเมินภาวะซึมเศร้าด้วยแบบประเมินภาวะซึมเศร้า เช่น แบบประเมินภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น (PHQ-A) แบบคัดกรอง 2 คำถาม (2Q) แบบประเมินโรคซึมเศร้า 9 คำถาม (9Q) แบบคัดกรองความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย (8Q) ซึ่งวัยรุ่นสามารถประเมินและคัดกรองได้ด้วยตนเอง กรณีมีความเสี่ยงของภาวะซึมเศร้าและความเสี่ยงฆ่าตัวตายสามารถดูแลช่วยเหลือตนเองเบื้องต้นโดยการดูแลตนเองพื้นฐาน เช่น การรับประทานอาหาร การพักผ่อนให้เพียงพอ การทำกิจกรรมที่เคยชอบ การออกกำลังกาย หารมีอาการมากจนกระทบกับการดำเนินชีวิตประจำวันควรขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้ได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม สำหรับบุคลากรสาธารณสุขหรือบุคลากรการศึกษาที่พบวัยรุ่นที่เข้าข่ายภาวะซึมเศร้าสามารถคัดกรองภาวะซึมเศร้าและสัมภาษณ์ ซักประวัติให้ได้ข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อประกอบการรักษา พร้อมทั้งให้คำแนะนำวัยรุ่นในการดูแลตนเอง การผ่อนคลายความเครียด การจัดการอารมณ์ รวมถึงแนะนำผู้ปกครองในการดูแล การรับประทานยา และการค้นหาสัญญาณเตือนการฆ่าตัวตาย "

Data source cannot be displayed.
บริการสุขภาพจิตกลุ่มวัยเรียนและวัยรุ่น โดยใช้โปรแกรมฉลาดรัก ฉลาดเลี้ยง (7 days parenting)
มุมมอง :
Visualization
{{current_url}}?id={{cur_meta.id}}&is_fullscreen=1
ข้อมูลทรัพยากร : {{cur_meta.name}}
วันที่ปรับปรุงไฟล์/ลิงก์ข้อมูลใน catalog
วันที่สร้างไฟล์/ลิงก์ข้อมูลใน catalog
รูปแบบของไฟล์ชุดข้อมูล
รหัสทรัพยากรข้อมูล
รายละเอียด
เงื่อนไขในการเข้าถึงข้อมูล
หน่วยที่ย่อยที่สุดของการจัดเก็บข้อมูล
วันที่เริ่มต้นสร้าง
วันที่ปรับปรุงเนื้อหาข้อมูลล่าสุด
ข้อมูลเพิ่มเติม
รหัสชุดข้อมูล d709f6b1-0582-431a-8375-293aaa637115
คำสำคัญ 7 days คัดกรองซึมเศร้า ฉลาดดูแล ฉลาดรัก ฉลาดเลี้ยง ทักษะการเลี้ยงดู วัยรุ่น สุขภาพจิต โรคซึมเศร้า
ระดับในการเข้าถึงข้อมูล สาธารณะ
วันที่สร้าง metadata 12 มีนาคม 2567
วันที่ปรับปรุง metadata 12 มีนาคม 2567
ประเภทชุดข้อมูล ข้อมูลระเบียน
ชื่อผู้ติดต่อ กลุ่มงานวิชาการสุขภาพจิต
อีเมลผู้ติดต่อ mhc03@dmh.mail.go.th
วัตถุประสงค์ พันธกิจหน่วยงาน
หน่วยความถี่ของการปรับปรุงข้อมูล ตามเวลาจริง
ขอบเขตเชิงภูมิศาสตร์หรือเชิงพื้นที่ ไม่มี
แหล่งที่มา พันธกิจหน่วยงาน
รูปแบบการเก็บข้อมูล CSV
หมวดหมู่ข้อมูลตามธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ข้อมูลสาธารณะ
สัญญาอนุญาต Open Data Common
เงื่อนไขในการเข้าถึงข้อมูล ร้องขอข้อมูลการติดต่อเพิ่มเติมจากกลุ่มงานวิชาการศูนย์สุขภาพจิตที่ 3
URL ข้อมูลเพิ่มเติม https://mhc3.dmh.go.th/data_catalog_mhc3/67/DataSet_21_02.csv
ภาษาที่ใช้ ไทย
วันที่เริ่มต้นสร้าง 2024-02-15
วันที่ปรับปรุงชุดข้อมูล (ทั้งหมดหรือบางส่วน) 2024-02-27
ชุดข้อมูลที่มีคุณค่าสูง ไม่แสดง
ชุดข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
โครงการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย - อัตราการคลอดในวัยรุ่น คือ อัตราการเจริญพันธุ์รายกลุ่มอายุของผู้หญิงอายุ 15-19 ปี
วันที่ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด : 12 เมษายน 2567  
csv json
สํานักงานสถิติแห่งชาติได้ร่วมมือกับกรม สุขภาพจิต สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริม สุขภาพ ในการสํารวจสุขภาพจิต (ความสุข) คนไทย...
วันที่ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด : 12 เมษายน 2567  
csv xlsx
ร้อยละของเด็กวัยรุ่น อายุ 13-24 ปี จำแนกตามพฤติกรรมของวัยรุ่นที่ทำประจำ
วันที่ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด : 12 เมษายน 2567  
csv json