ตัวอย่างการใช้ข้อมูล
ทีม We are Shoo-in - เกษตรกรไทย การเผา และสิ่งเล็กๆ ที่เรียกว่า “ฝุ่น PM 2.5” #DIGIDataCampSeason3
ผลงานจากโครงการค่ายสานฝันปั้นอัศวินข้อมูลภาครัฐ - DIGI Data Camp Season 3
ทีมที่ 6 ทีม We are Shoo-in - กรมส่งเสริมการเกษตร
คุณสรรพสิทธิ์ สิงห์ปี
คุณสุรนาท ศรีพันธ์
คุณอาณัติ ภัทราวุธสมบูรณ์
คุณอภิสิทธิ์ ไชยชาติ
คุณพันธมิตร แซ่ค่ง
นำเสนอผลงานในหัวข้อ "เกษตรกรไทย การเผา และสิ่งเล็กๆ ที่เรียกว่า “ฝุ่น PM 2.5”"
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิเคราะห์ และจัดทำ Dashboard ดังกล่าว
1. กรมส่งเสริมการเกษตร: ใช้ประโยชน์จากข้อมูลในการสร้างการรับรู้ถึงผลกระทบจากปัญหามลพิษทางอากาศในพื้นที่และแนะนำเทคโนโลยีนวัตกรรมที่เหมาะสมในการจัด
การวัสดุทางการเกษตร รวมถึงกำหนดนโยบายส่งเสริมการจัดการฟาร์มให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
2. กรมการข้าว: วิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ข้าวที่ให้ผลผลิตสูงและมีอายุการเก็บเกี่ยวสั้น พร้อมทั้งส่งเสริมและยกระดับเทคโนโลยีการผลิตข้าวแบบล้มตอซัง สามารถลดวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรลง 1 รอบการผลิต/ปี
3. กรมวิชาการเกษตร: วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี และกระบวนการจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและศึกษาแนวทางการสนับสนุน ระบบ GAP 2.5 Free plus อย่างยั่งยืน
4. กรมพัฒนาที่ดิน: อาศัยข้อมูลในการส่งเสริมการจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรแบบยั่งยืน เช่น พัฒนาจุลินทรีย์ หรือสารย่อยสลายที่มีประสิทธิภาพทดแทนการเผา
5. กรมชลประทาน: สามารถนำข้อมูลไปบริหารจัดการน้ำในเขตพื้นที่ชลประทาน เพื่อการย่อยสลายวัสดุทางการเกษตร
6. กรมส่งเสริมสหกรณ์: ใช้ประโยชน์จากข้อมูลในการส่งเสริมการรวมกลุ่มเกษตรกร เพื่อร่วมกันบริหารจัดการฟาร์ม และเครื่องจักรกลการเกษตรทดแทนการเผา
7. สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร: เพื่อวิเคราะห์และเสนอนโยบายการเกษตรที่สมดุลระหว่างการเพิ่มผลผลิตและการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจของมาตรการแก้ไขปัญหามลพิษในภาคเกษตร
8. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร: นำข้อมูลมาประกอบการพิจารณาสนับสนุนเงินทุนจักรกลการเกษตร หรือเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อทดแทนการเผา
9. กรมป่าไม้: ประยุกต์ใช้ข้อมูลในการส่งเสริมการปลูกป่าชุมชน เพื่อดูดซับมลพิษทางอากาศและฝุ่น PM 2.5
10. กรมการปกครอง: บูรณาการข้อมูลเพื่อบังคับใช้กฎระเบียบเพื่อแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และผู้นำชุมชนในการลดการเผาพื้นที่เกษตร
11. สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน: อาศัยข้อมูลในการวางแผนการสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวล เปลี่ยนเศษวัสดุการเกษตรเป็นพลังงาน ทดแทนการเผาทิ้ง
12. กรมอุตุนิยมวิทยา: นำข้อมูลมาจุดความร้อนประกอบการพยากรณ์อากาศและเตือนภัยในพื้นที่เสี่ยงมลพิษทางอากาศ
13. กรมควบคุมมลพิษ: สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลในการวางแผน ติดตาม และควบคุมมลพิษทางอากาศที่เกิดขึ้นจากการเผาพื้นที่เกษตร
14. สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA): สามารถนำข้อมูลมาบูรณาการการวิเคราะห์ภาพถ่ายดาวเทียมการใช้ประโยชน์ที่ดินและจุดความร้อน เพื่อติดตามสถานการณ์การเผาพื้นที่เกษตร
15. กระทรวงสาธารณสุข: สามารถวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อกำหนดกลุ่มเป้าหมายในการแจกหน้ากากกันฝุ่น PM 2.5 และสถานที่ตั้งห้องปลอดฝุ่น
16. สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ: กำหนดเขตพื้นที่เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลทรัพยากรน้ำในพื้นที่ที่มีปัญหาฝุ่น PM 2.5
17. สถาบันการศึกษาและวิจัย: ต่อยอดข้อมูลสู่การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการเผาพื้นที่เกษตร เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสม
18. ภาคเอกชน: ประยุกต์ใช้ข้อมูลในการทำตลาดคาร์บอนเครดิตการประเมินและศึกษาแนวโน้มความคุ้มค่าในการสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวล และการคัดเลือกพื้นที่ในการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม หรือ CSR ขององค์กร
สามารถรับชมผลงานเพิ่มเติมได้ที่ > https://public.tableau.com/app/profile/digi.thailand/viz/Finalist-weareshoo-in_17255259144230/D1