ข้อมูลภูมินามสมุทรสาคร
ฐานข้อมูลภูมินามในสมุทรสาครนี้เกิดขึ้นจากงานวิจัย 2 ชิ้น ได้แก่ ภูมิสังคมและประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเมืองสมุทรสาคร กรณีศึกษาภูมินามในอำเภอเมืองสมุทรสาคร และภูมิสังคมและประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเมืองสมุทรสาคร กรณีศึกษาภูมินามอำเภอกระทุ่มแบนอำเภอบ้านแพ้ว ภายใต้โครงการการศึกษาวิจัยสังคมวัฒนธรรมในพื้นที่ชุมชนชายฝั่งทะเลอ่าวไทยบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาถึงลุ่มแม่น้ำท่าจีน ปีที่ 1 และ 2 พ.ศ. 2559 และ พ.ศ. 2560 ตามลำดับ กลุ่มงานวิจัยและพัฒนา ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ซึ่งมีสรุปผลการศึกษาของงานวิจัยทั้งสองชิ้นดังนี้ งานวิจัยนี้ มุ่งประเด็นไปในเรื่องของการศึกษาเชิงพื้นที่ ที่มีภูมิทัศน์ที่หลากหลาย ซึ่งได้แก่พื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร โดยในการวิจัยระยะที่ 1 ได้ศึกษาภูมินามประเภท “ชื่อหมู่บ้าน” ของอำเภอเมืองสมุทรสาคร ซึ่งมีจำนวน 148 ชื่อ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า การอธิบายถึงที่มาของชื่อหมู่บ้านโดยคนในชุมชน มักเป็นเรื่องมุขปาฐะ และเป็นไปในทำนองที่เรียกว่า “อัตวิสัย” อย่างไรก็ตาม ที่มาของชื่อหมู่บ้านบางชื่อ ก็สามารถใช้แนวคิดที่คณะผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมา ซึ่งเรียกว่า “ภูมิลักษณ์นิยม” มาใช้อธิบายที่มาของชื่อได้อย่างสอดคล้องกับลักษณะของภูมิทัศน์ทางธรรมชาติของหมู่บ้านนั้นได้ด้วยเช่นกัน ดังนั้น เป้าหมายของการศึกษาภูมินามศาสตร์เชิงมานุษยวิทยาในครั้งนี้ จึงมิใช่การค้นหาข้อเท็จจริง แต่เป็นการนำเสนอทั้ง “ข้อเท็จ” และ “ข้อจริง” ที่ปรากฏในเรื่องเล่า เพื่อการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างชื่อสถานที่กับรูปแบบภูมิทัศน์ท้องถิ่น ทั้งนี้ก็เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลให้เห็นถึงความสัมพันธ์เชิงระหว่างพลวัตทางสังคมวัฒนธรรม กับพลวัตของภูมินามในท้องถิ่น
สำหรับอีกชิ้นหนึ่งเป็นงานศึกษาต่อเนื่องจากโครงการวิจัยฯ กรณีศึกษาภูมินามในอำเภอเมืองสมุทรสาคร คือ กรณีศึกษาภูมินามอำเภอกระทุ่มแบนและอำเภอบ้านแพ้ว โดยในฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมที่มาของชื่อหมู่บ้านในอำเภอกระทุ่มแบนและอำเภอบ้านแพ้ว เพื่อนำไปวิเคราะห์ สังเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงรูปแบบระหว่าง “ชื่อหมู่บ้าน” กับสิ่งต่างๆ ได้แก่ ภูมิทัศน์ ภูมิสังคม ความเปลี่ยนแปลงทางสังคม-วัฒนธรรม ในบริบทประวัติศาสตร์ท้องถิ่น โดยศึกษาผ่านชื่อหมู่บ้านทั้งหมดเชิงพื้นที่ 264 ชื่อหมู่บ้าน ผลการศึกษาพบว่า วิธีการทางโครงสร้างทางภาษาศาสตร์สามารถวิเคราะห์ว่า ชื่อหมู่บ้านในเขตอำเภอกระทุ่มแบน และอำเภอบ้านแพ้ว ซึ่งเป็นชุมชนเกิดในระยะหลังของพัฒนาการประวัติศาสตร์ท้องถิ่นทั้งจังหวัด ส่วนใหญ่ตั้งชื่อตามภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรมที่อยู่โดยรอบหมู่บ้านมากกว่าภูมิลักษณ์ที่เป็นที่นิยมในบริเวณอำเภอเมืองสมุทรสาคร
ข้อมูลทรัพยากร : ${cur_meta.name}
ดาวน์โหลด ไปสู่ทรัพยากรวันที่ปรับปรุงไฟล์/ลิงก์ข้อมูลใน catalog | ${cur_meta.last_modified} |
วันที่สร้างไฟล์/ลิงก์ข้อมูลใน catalog | ${cur_meta.created} |
รูปแบบของไฟล์ชุดข้อมูล | ${cur_meta.mimetype} |
รหัสทรัพยากรข้อมูล | ${cur_meta.id} |
รายละเอียด | ${cur_meta.ori.description} |
เงื่อนไขในการเข้าถึงข้อมูล | ${cur_meta.ori.resource_accessible_condition} |
หน่วยที่ย่อยที่สุดของการจัดเก็บข้อมูล | ${cur_meta.ori.resource_data_collect} |
${cur_meta.ori.resource_data_collect_other} | |
วันที่เริ่มต้นสร้าง | ${cur_meta.ori.resource_created_date} |
วันที่ปรับปรุงเนื้อหาข้อมูลล่าสุด | ${cur_meta.ori.resource_last_updated_date} |
ข้อมูลเพิ่มเติม
รหัสชุดข้อมูล | 095f81ee-b4df-401c-ade3-8eac68a6edad |
---|---|
กลุ่มชุดข้อมูล | ศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม |
แท็ค |
ภูมิทัศน์
ภูมินาม
ภูมิสังคม
ลุ่ม
วัฒนธรรม
สมุทรสาคร
สังคม
เจ้าพระยา
แม่น้ำ
|
ระดับในการเข้าถึงข้อมูล | สาธารณะ |
วันที่สร้าง metadata | 14 ธันวาคม 2563 |
วันที่ปรับปรุง metadata | 17 มีนาคม 2566 |
ประเภทชุดข้อมูล | ข้อมูลระเบียน |
ชื่อฝ่ายงานสำหรับติดต่อ | ผู้ดูแลระบบ |
อีเมลสำหรับติดต่อ | webmaster@sac.or.th |
วัตถุประสงค์ | ไม่ทราบ |
หน่วยความถี่ของการปรับปรุงข้อมูล | ไม่มีการปรับปรุงหลังจากการจัดเก็บข้อมูล |
ค่าความถี่ของการปรับปรุงข้อมูล (ความถี่น้อยที่สุด) | 1 |
ขอบเขตเชิงภูมิศาสตร์หรือเชิงพื้นที่ | ประเทศ |
แหล่งที่มา | ไม่ทราบ |
รูปแบบการเก็บข้อมูล | ไม่ทราบ |
หมวดหมู่ข้อมูลตามธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ | ข้อมูลสาธารณะ |
สัญญาอนุญาต | Creative Commons Attributions |
ภาษาที่ใช้ | ไทย |
ชุดข้อมูลที่มีคุณค่าสูง | ไม่แสดง |
ตัวอย่างการใช้ข้อมูล
ชุดข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ.2566-2570) เพิ่มเติม เปลี่ยนแปลง ครั้งที่ 3/2567
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ.2566-2570) เพิ่มเติม เปลี่ยนแปลง ครั้งที่ 3/2567
จำนวนของนักทัศนาจร
จำนวนนักทัศนาจรชาวไทยและชาวต่างชาติ ที่มาเยื่อนชั่วคราว ซึ่งพักอยู่ ณ จังหวัดตรัง น้อยกว่า 24 ชั่วโมง และไม่พักค้างคืน