แนวทางการปฏิบัติงานของทีมช่วยเหลือเยียวยาจิตใจผู้ประสบภาวะวิกฤต เขตสุขภาพที่ 3 - Open Government Data of Thailand

แนวทางการปฏิบัติงานของทีมช่วยเหลือเยียวยาจิตใจผู้ประสบภาวะวิกฤต เขตสุขภาพที่ 3

Organizations : กรมสุขภาพจิต

วิกฤตสุขภาพจิต (Mental Health Crisis) หมายถึง ภาวะเสียสมดุลทางอารมณ์และจิตใจจากสถานการณ์หรือเหตุการณ์วิกฤตที่เกิดขึ้นทำให้เกิดความว้าวุ่น สับสนและความผิดปกติที่คนเราไม่สามารถจะใช้วิธีคิดและการปฏิบัติที่เคยใช้ได้ในภาวะปกติ การเยียวยา (Rehabilitation) หมายถึง การจัดการความเสียหายหรือผลที่เกิดจากสาธารณภัย เพื่อพลิกฟื้นสภาวะการดำรงชีพของชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากการเกิดสาธารณภัยให้กลับคืนสู่สภาพที่เป็นอยู่ ก่อนหน้านี้ รวมทั้งการดูแลสภาพจิตใจและจิตสังคม (Psychosocial Support) ของผู้ได้รับผลกระทบ ตลอดจน การกระตุ้นและช่วยเหลือให้เกิดการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงตามความจำเป็น หลัักการจััดการความเสี่่ยงจากสาธารณภัย การลดความเสี่่ยงจากสาธารณภัยเป็นการวิเคราะห์และเตรียมพร้อมเพื่่อรับมือกับสาธารณภัยที่อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งเป็นแนวคิดและกระบวนการที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากโลกในปัจจุุบันต้องเผชิญกับปัญหาจากสาธารณภัยที่ก่อให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินแก่ประชาชนเป็นอย่างมาก ปัจจุบันทั่วโลกยอมรับว่าสาธารณภัยเป็นเรื่องที่จััดการได้โดยไม่่จำเป็นต้องรอให้เกิดภัยขึ้นก่่อน “การจัดการความเสี่ยงจาก สาธารณภัย” (Disaster Risk Management : DRM) ได้แก่ การป้องกัน (Prevention) การลดผลกระทบ (Mitigation) และการเตรียมความพร้อม (Preparedness) ควบคู่กับการจัดการในภาวะฉุุกเฉิน Emergency Management ได้แก่ การเผชิญเหตุ (Response) และการบรรเทาทุกข์ (Relief) รวมถึงการฟื้นฟูู Recovery ได้แก่ การฟื้นสภาพและการซ่อมสร้าง (Rehabilitation and Reconstruction) การสร้างให้ดีกว่าและปลอดภัยกว่าเดิม (Build Back Better and Safer) ตามวงจรการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย (Prevention and Mitigation, Preparedness, Response และ Recovery) “การจัดการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข” (Public Health Emergency Management: PHEM) คือ กระบวนการและขั้นตอนต่างๆ ของการจัดการเหตุการณ์การเกิดโรคและภัยคุกคามสุขภาพอย่างรวดเร็วและเป็นระบบ ครอบคลุมทุกระยะตั้งแต่การดำเนินการป้องกัน และลดผลกระทบ (Prevention & Mitigation) การเตรียมความพร้อมรองรับภาวะฉุกเฉิน (Preparedness) การตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน (Response) และการฟื้นฟูหลังเกิดภาวะฉุกเฉิน (Recovery) ซึ่งทั้ง 4 ระยะ มีรายละเอียดดังนี้ 1. การดำเนินการป้องกันและลดผลกระทบ (Prevention and Mitigation) เป็นระยะที่ต้องดำเนินกิจกรรมต่างๆ ที่ช่วยลดโอกาสการเกิดเหตุการณ์และลดผลกระทบของโรคและภัยสุขภาพที่เป็นภาวะฉุกเฉิน หรือทำให้เหตุการณ์นั้นส่งผลกระทบน้อยลง ซึ่งรวมถึงการจัดวางระบบการจัดการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขให้มีสมรรถนะและมีขีดความสามารถ เพื่อเตรียมการเผชิญสาธารณภัยต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการลดความรุนแรงและลดความสูญเสียจากภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข 2. การเตรียมความพร้อมรองรับภาวะฉุกเฉิน (Preparedness) เป็นระยะที่ต้องเตรียมความพร้อมและแนวทางปฏิบัติในการรับมือกับภาวะฉุกเฉินที่จะเกิดขึ้นในทุกด้านก่อนการเกิดเหตุการณ์ ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข ได้แก่ การเตรียมและพัฒนาระบบเฝ้าระวังเหตุการณ์ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข การเตรียมศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน และระบบบัญชาการเหตุการณ์ การจัดทำแผนตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข และการซ้อมแผนดังกล่าว การฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรเพื่อรองรับการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข การจัดการและเตรียมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข การจัดเตรียมทรัพยากรและระบบการขนส่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข 3. การตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน (Response) เมื่อเกิดภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องดำเนินการตามแผนจัดการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข มีการเปิดศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน เพื่อบัญชาการเหตุการณ์ ดำเนินการติดตามเฝ้าระวังและประเมินสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง ส่งทีมเข้าพื้นที่เพื่อให้การช่วยเหลือและบรรเทาความสูญเสียต่อสุขภาพของผู้ประสบเหตุและดำเนินการป้องกัน การสื่อสารความเสี่ยงอย่างเหมาะสม ซึ่งในการดำเนินการจะระดมทรัพยากรที่เตรียมพร้อมไว้เพื่อตอบโต้ภาวะฉุกเฉินร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 4. การฟื้นฟูหลังเกิดภาวะฉุกเฉิน (Recovery) เป็นระยะที่ความเสียหาย และความสูญเสียจากเหตุการณ์ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขได้รับการแก้ไขและบรรเทาแล้ว มีการฟื้นฟูให้พื้นที่กลับสู่ภาวะปกติ ซึ่งหลังจากดำเนินการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินแล้ว ผู้รับผิดชอบเหตุการณ์ภาวะฉุกเฉินต้องเตรียมการหลังฟื้นฟู เช่น เตรียมปิดตัวสถานที่พักพิงชั่วคราวในพื้นที่ เตรียมเปิดระบบให้บริการสุขภาพของพื้นที่ในภาวะปกติ รวมถึงการฟื้นฟูเยียวยาจิตใจผู้ประสบภาวะวิกฤต

Resource Info : ${cur_meta.name}

Download Go to resource
Resource last updated date ${cur_meta.last_modified}
Resource creation date ${cur_meta.created}
Resource format ${cur_meta.mimetype}
Resource ID ${cur_meta.id}
Description ${cur_meta.ori.description}
Accessible Condition ${cur_meta.ori.resource_accessible_condition}
Data Collect ${cur_meta.ori.resource_data_collect}
${cur_meta.ori.resource_data_collect_other}
Created date ${cur_meta.ori.resource_created_date}
Last updated date ${cur_meta.ori.resource_last_updated_date}
Data source cannot be displayed.
All information ${cur_meta.data.total.toLocaleString()} 0 records
 100 500 1,000 records

Additional Info

Data Key 429159b6-088c-40e3-a2db-564ce161f8cc
Tags
Mental Health Crisis Rehabilitation การเยียวยา วิกฤตสุขภาพจิต
Visibility Public
Dataset create date August 30, 2024
Maintain date August 30, 2024
Data Type ข้อมูลระเบียน
Contact Person กลุ่มงานวิชาการสุขภาพจิต
Contact Email mhc03@dmh.mail.go.th
Objective พันธกิจหน่วยงาน
Update Frequency Unit ตามเวลาจริง
Geo Coverage ไม่มี
Data Source พันธกิจหน่วยงาน
Data Format CSV
Data Category ข้อมูลสาธารณะ
License Open Data Common
URL https://mhc3.dmh.go.th/data_catalog_mhc3/67/2/DataSet_41_01.csv
Data Language ไทย
Created date 2024-08-20
Last updated date 2024-08-20
High Value Dataset Show

Showcases

Related

การรับรองและสถานะการรับรองของสถานพยาบาลตามมาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ

รายชื่อโรงพยาบาลที่ผ่านการรับรอง HA และ A-HA (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2567)

Last update dataset : January 24, 2025
.. ..
การประเมินการพัฒนาและรับรองระบบเครือข่ายบริการสุขภาพ (HNC)

การประเมินการพัฒนาและรับรองระบบเครือข่ายบริการสุขภาพ (HNC) (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2567)

Last update dataset : January 24, 2025
..