ครัวเรือนที่มีการเก็บออมเงิน (จปฐ.) - Open Government Data of Thailand

ครัวเรือนที่มีการเก็บออมเงิน (จปฐ.)

Organizations : สำนักงานจังหวัดลพบุรี

การเก็บออมเงิน หมายถึง การน่ารายได้ที่เหลือจากการใช้จ่ายในการอุปโภคบริโภค หรือการกันรายได้ส่วนหนึ่งมาเก็บไว้เพื่อใช้จ่ายในยามเจ็บป่วย หรือมีเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้น หรือเมื่อแก่ชรา หรือเพื่อใช้จ่ายในกิจกรรมอื่นใดที่สมควร ทั้งในรูปแบบที่เป็นเงินสดหรือทรัพย์สินต่าง ๆ เช่น เงิน สดที่เก็บออมไว้เอง เงินฝากธนาคาร เงินฝากสหกรณ์ เงินฝากกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต เงินฝากกลุ่มสัจจะ เงินฝากกองทุนหมู่บ้าน เงินฝากกองทุนต่าง ๆ การท่าประกันชีวิต การซื้อพันธบัตร การซื้อทองค่า การซื้อบ้านหรือที่ดิน

ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.)

               ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.)  คือ  ข้อมูลในระดับครัวเรือนที่แสดงถึงสภาพความจำเป็นพื้นฐานของคนในครัวเรือนในด้านต่างๆ เกี่ยวกับคุณภาพชีวิตที่ได้กำหนดมาตรฐานขั้นต่ำไว้ว่าคนควรจะมีคุณภาพชีวิตในแต่ละเรื่องอย่างไร ในช่วงระยะเวลาหนึ่งๆ

ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) เป็นข้อมูลที่แสดงถึงลักษณะของสังคมไทยที่พึงประสงค์ตามเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำของเครื่องชี้วัดว่า อย่างน้อยคนไทยควรจะมีระดับความเป็นอยู่ไม่ต่ำกว่าระดับไหนในช่วงระยะเวลาหนึ่งๆ และทำให้ประชาชนสามารถทราบได้ด้วยตนเองว่าในขณะนี้คุณภาพชีวิตของตนเอง ครอบครัว รวมไปถึงหมู่บ้าน/ชุมชน อยู่ในระดับใด มีปัญหาที่จะต้องแก้ไขในเรื่องใดบ้าง เป็นการส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาตนเอง ครอบครัว และสังคม อันเป็นนโยบายสำคัญในการพัฒนาประเทศ

หลักการของข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน

1) ใช้เครื่องชี้วัดความจำเป็นพื้นฐานเป็นเครื่องมือของกระบวนการเรียนรู้ของประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชน เพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชน ทราบถึงสภาพความเป็นอยู่ของตนเองและหมู่บ้าน/ชุมชนว่าบรรลุตามเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐานหรือไม่

2) ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนา โดยผ่านกระบวนการความจำเป็นพื้นฐาน นับตั้งแต่การกำหนดปัญหาความต้องการที่แท้จริงของหมู่บ้าน/ชุมชน ค้นหาแนวทางแก้ไขปัญหา ตลอดจนการประเมินผลการดำเนินงานที่ผ่านมา

3) ใช้ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐานเป็นแนวทางในการคัดเลือกโครงการ กิจกรรมต่างๆ ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาที่แท้จริงของหมู่บ้าน/ชุมชน สามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีการประสานระหว่างสาขาในด้านการปฏิบัติมากขึ้น

วัตถุประสงค์ในการจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน

“ เพื่อให้ประชาชนสามารถพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของตนเอง และครอบครัว ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างน้อยผ่านเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐาน โดยมีเครื่องชี้วัด จปฐ. เป็นเครื่องมือ ”

แนวคิดและความเป็นมาของข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน

ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน ที่ได้มีการจัดเก็บโดยประชาชน ด้วยความสนับสนุนของคณะทำงานบริหารการจัดเก็บข้อมูลฯ ระดับตำบลและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะทำให้ทราบว่าแต่ละครัวเรือนมีปัญหาอะไร หมู่บ้าน/ชุมชน และตำบลมีปัญหาอะไร และเมื่อทราบแล้วส่วนใดสามารถแก้ปัญหาเองได้ ครัวเรือนแต่ละครัวเรือน และคณะกรรมการหมู่บ้าน/ชุมชนก็ต้องช่วยกันดำเนินการแก้ไข ส่วนใดที่ไม่สามารถดำเนินการได้เองก็ให้ขอรับการสนับสนุนบางส่วนหรือทั้งหมดจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.) ส่วนราชการในภูมิภาค (อำเภอ จังหวัด) ส่วนราชการส่วนกลาง(กรม,กระทรวง) หรือในระดับรัฐบาลต่อไป

               ปี 2525 แนวความคิดเกิดขึ้นครั้งแรก สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้กำหนดรูปแบบลักษณะของสังคมไทย และคนไทยที่พึงประสงค์ในอนาคต โดยกำหนดเป็นเครื่องชี้วัดความจำเป็นพื้นฐานของคนไทย  ซึ่งได้ข้อสรุปว่า “การมีคุณภาพชีวิตที่ดีของคนไทยจะต้องผ่านเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐานทุกตัวชี้วัด”

ปี 2528 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบและอนุมัติเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2528 ให้มีการดำเนินการโครงการปีรณรงค์คุณภาพชีวิตและประกาศใช้เป็น “ปีรณรงค์คุณภาพชีวิตของประชาชนในชาติ (ปรช.)” (20 สิงหาคม 2525- 31 ธันวาคม 2530) โดยใช้เครื่องชี้วัดความจำเป็นพื้นฐาน 8 หมวด 32 ตัวชี้วัด เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดคุณภาพชีวิตของคนไทยว่าอย่างน้อยคนไทยควรมีคุณภาพชีวิตในเรื่องอะไรบ้าง และควรมีระดับไหนในช่วงระยะเวลาหนึ่งๆ

               ปี 2531 คณะกรรมการพัฒนาชนบทแห่งชาติ (กชช.) มีมติให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มอบโครงการปีรณรงค์ให้กระทรวงมหาดไทย โดยกรมการพัฒนาชุมชนเป็นหน่วยงานรับผิดชอบประสานการดำเนินการ ภายใต้ชื่องานว่า “งานพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในชนบท (พชช.)”

ปี 2533 กระทรวงมหาดไทย โดยกรมการพัฒนาชุมชน ดำเนินการจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐานเป็นประจำทุกปี และมีการปรับปรุงเครื่องชี้วัด ทุก 5 ปี ให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ

               ปี 2555  อยู่ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555 – 2559)       มีเครื่องชี้วัด 5 หมวด 30 ตัวชี้วัด

ปี 2560 อยู่ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 – 2564) มีเครื่องชี้วัด 5 หมวด 31 ตัวชี้วัด

การกำหนดเครื่องชี้วัดความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.)

ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน บริหารการจัดเก็บโดยคณะกรรมการอำนวยการงานพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน (พชช.) ประธานคณะกรรมการ ได้แก่ ปลัดกระทรวงมหาดไทย และอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน เป็นเลขานุการ คณะกรรมการประกอบด้วยผู้แทนส่วนราชการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

ทั้งนี้ ทุกๆ 5 ปี คณะกรรมการอำนวยการฯ (พชช.) จะแต่งตั้งและมอบหมายให้คณะทำงานปรับปรุงเครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตของประชาชน ได้ปรับปรุง หรือพัฒนาเครื่องชี้วัดความจำเป็นพื้นฐานให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่กำหนดขึ้นใหม่ คณะทำงานประกอบด้วยผู้แทนส่วนราชการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมีกรมการพัฒนาชุมชนเป็นฝ่ายเลขานุการ ซึ่งจะร่วมกันกำหนดเครื่องชี้วัด ตัวชี้วัด เกณฑ์ชี้วัดความจำเป็นพื้นฐาน และหน่วยงานเจ้าภาพตัวชี้วัดความจำเป็นพื้นฐานที่ต้องรับผิดชอบ นำผลการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. ไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน

ประโยชน์ของข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน

1) ประชาชน จะได้ทราบข้อมูลสถานการณ์คุณภาพชีวิตของตนเองและครัวเรือน สามารถปรับปรุงคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นได้ด้วยตนเอง ตัวอย่างเช่น การดูแลสุขภาพอนามัย ความเป็นอยู่ และความปลอดภัยของสมาชิกครัวเรือน ฯลฯ

2) ประชาชน สามารถเข้าถึง และได้รับสวัสดิการด้านต่างๆ จากรัฐ โดยเฉพาะการช่วยเหลือ สนับสนุนจากภาครัฐอย่างทันท่วงที เมื่อได้รับผลกระทบจากสาธารณภัยหรือภัยพิบัติ เพราะได้ให้ข้อมูลของตนเองไว้กับภาครัฐ

3) ชุมชน โดยคณะกรรมการหมู่บ้าน องค์กร หรือกลุ่มภายในหมู่บ้าน/ชุมชนจะได้ทราบ และ มีข้อมูลสถานการณ์คุณภาพชีวิตของประชาชน ครัวเรือน และหมู่บ้าน/ชุมชนอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อจะได้นำไปใช้ในการวางแผน กำหนดกิจกรรมพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชน และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน

4) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือภาครัฐที่เกี่ยวข้อง จะได้ทราบและมีข้อมูลสถานการณ์คุณภาพชีวิตของประชาชน ครัวเรือน ชุมชน ตำบล อำเภอ จังหวัด ตลอดจนภาพรวมในระดับประเทศเพื่อนำไปใช้กำหนดนโยบายวางแผนปฏิบัติการ กำหนดกิจกรรม เพื่อแก้ไขปัญหา และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน

5) ภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน กลุ่ม องค์กร หรือสถาบันที่เกี่ยวข้อง สามารถเข้าถึงประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมายตามสภาพปัญหาได้อย่างทั่วถึง ทุกพื้นที่ เขตชนบท หรือเขตเมืองทั้งในกรณีปกติ และกรณีเร่งด่วน

6) ภาคเอกชน สามารถนำข้อมูลในภาพรวมระดับหมู่บ้าน/ชุมชนขึ้นไป ไปใช้ในการตัดสินใจ และวางแผนทางธุรกิจ ซึ่งจะมีส่วนสนับสนุน ส่งเสริมการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนอีกทางหนึ่ง

Resource Info : ${cur_meta.name}

Download Go to resource
Resource last updated date ${cur_meta.last_modified}
Resource creation date ${cur_meta.created}
Resource format ${cur_meta.mimetype}
Resource ID ${cur_meta.id}
Description ${cur_meta.ori.description}
Accessible Condition ${cur_meta.ori.resource_accessible_condition}
First year of data ${cur_meta.ori.resource_first_year_of_data}
Last year of data ${cur_meta.ori.resource_last_year_of_data}
Disaggregate
  • ${ele}
${cur_meta.ori.resource_disaggregate_other}
Unit of measure ${cur_meta.ori.resource_unit_of_measure}
Unit of multiplier ${cur_meta.ori.resource_unit_of_multiplier}
${cur_meta.ori.resource_unit_of_multiplier_other}
Last updated date ${cur_meta.ori.resource_last_updated_date}
Data release calendar ${cur_meta.ori.resource_data_release_calendar}
Official Statistics ${cur_meta.ori.resource_official_statistics=='True'?'ใช่':'ไม่ใช่'}
Data source cannot be displayed.
All information ${cur_meta.data.total.toLocaleString()} 0 records
 100 500 1,000 records

Additional Info

Data Key 40c44769-5f68-48af-9fd0-2e0e6ebdac4f
Tags
ครัวเรือน จปฐ. เก็บออม
Visibility Public
Dataset create date March 13, 2024
Maintain date July 12, 2024
Data Type ข้อมูลสถิติ
Contact Person กลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชน
Contact Email sarasontheslbr@gmail.com
Objective
  • ยุทธศาสตร์ชาติ
  • แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
  • แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ
  • แผนระดับที่ 3 (มติครม. 4 ธ.ค. 2560)
  • เพื่อการให้บริการประชาชน
  • พันธกิจหน่วยงาน
Update Frequency Unit ปี
Update Frequency Interval 1
Geo Coverage จังหวัด
Data Source โปรแกรมจัดเก็บ บันทึก และประมวลผล ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) จากการจัดเก็บและบันทึกข้อมูลของอาสาสมัครจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.)
Data Format CSV
Data Category ข้อมูลสาธารณะ
License License not specified
Accessible Condition ไม่มี
Data Language ไทย
Last updated date 2024-04-26
Data release calendar 2024-04-26
First year of data (Statistical data) 2564
Last year of data (Statistical data) 2566
Disaggregate (Statistical data) ไม่มี
Unit of measure (Statistical data) ครัวเรือน
Unit of multiplier (Statistical data) หน่วย
Calculation method (Statistical data) ไม่มี
Standard (Statistical data) ไม่มี
High Value Dataset No Show

Showcases

Related

จำนวนเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ได้รับการจดทะเบียน (Mobile Subscribers)

จำนวนเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ได้รับการจดทะเบียน (Mobile Subscribers)

Last update dataset : January 7, 2025
..
ชุดข้อมูลอัตราค่าบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ (International Telephone Services)

อัตราค่าบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศระบบเรียกตรงอัตโนมัติ หรือ IDD (International Direct Dialing)

Last update dataset : January 7, 2025
.. .. ..