ตัวอย่างการใช้ข้อมูล
"ไปต่อ" หรือ "พอก่อน" นโยบายการทำงานแบบ Work From Home (WFH) ในองค์กร
“ไปต่อ” หรือ “พอก่อน” นโยบายการทำงานแบบ Work From Home (WFH) ในองค์กร
การวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของการนำนโยบาย WFH มาปรับใช้ในคณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล
- นโยบายการ WFH ส่งผลให้บุคลากรแต่ละ Generation พึงพอใจและผูกพันต่อองค์กรมากขึ้นหรือไม่
- นโยบายดังกล่าวสามารถจูงใจให้บุคลากรแต่ละ Generation ลาออกน้อยลงหรือไม่
ในสถานการณ์ COVID 19 ที่เริ่มพบในประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 13 ม.ค. 63 ศิริราชที่เป็นกำลังหลักสำคัญของแผ่นดินในด้านสาธารณสุข บุคลากรของคณะฯ จึงมีส่วนสำคัญในการเป็นกลไกขับเคลื่อนผ่านวิกฤตดังกล่าว คณะมีการขยายตัวและเติบโตต่อเนื่องรวมถึงมีการรับบุคลากรใหม่เข้ามาเพิ่มเติมในแต่ละปี โดยคณะฯ มีบุคลากรปีงบประมาณ 64 จำนวน 15,895 ราย (Gen bb = 6.1% Gen x = 19.3% Gen y = 45.9% Gen z = 28.7%) ในปี 63 ซึ่งเป็นปีแรกของสถานการณ์ Covid 19 พบว่าอัตราการลาออกในภาพรวมลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับปี 62 ส่วนหนึ่งมาจากการที่คณะไม่มีนโยบายปลดคน ลดเงินเดือน ไม่ขึ้นเงินเดือนประจำปี และเพื่อให้สามารถผ่านวิกฤตดังกล่าวได้คณะเร่งการฉีดวัคซีนให้บุคลากรด่านหน้าและบุคลากรทุกระดับ รวมถึงในปี 63 เพื่อสามารถบริหารจัดการในสภาวะดังกล่าวได้คณะจึงนำมาตรการ WFH เข้ามาปรับใช้ในคณะ ทั้งนี้พบว่าปี 64 อัตราการลาออกของบุคลากรมีทิศทางสูงขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ทางกลุ่มจึงสนในใจการนำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์เพื่อให้ผู้บริหารคณะเห็นภาพในช่วงการนำนโยบาย WFH มาใช้ในคณะ
ผลงานจากโครงการ DIGI DATA CAMP
ทีม SiHRData_3ยกกำลัง2
ฝ่ายทรัพยากรบุคคล ร่วมกับศูนย์สารสนเทศและนวัตกรรมข้อมูลศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล