ในบริเวณพื้นที่ที่ถูกเรียกว่า “เอเชียตะวันออกเฉียงใต้” ครอบคลุมพื้นที่ที่อยู่ในประเทศไทยด้วยเป็นพื้นที่หนึ่งในภูมิภาคต่างๆ ของโลกที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์สูง กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ เหล่านี้พูดภาษาต่างๆ ซึ่งอยู่ในตระกูลภาษาหลายตระกูล เช่น ออสโตรเอเชียติก ไท จีน-ทิเบต แม้ว-เย้า และออสโตรเนเชียน เป็นต้น (นักภาษาศาสตร์ได้จำแนกตระกูลภาษาที่แตกต่างกันไปตามหลักการ และเหตุผลที่ต่างกัน สำหรับในฐานข้อมูลนี้จะอาศัยการจำแนกของ ศ.ดร.สุวิไล เปรมศรีรัตน์ ซึ่งมีประสบการณ์ทางวิจัยภาษาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาอย่างยาวนาน) มีวิถีชีวิตทางเศรษฐกิจ การจัดระเบียบสังคมและการเมือง ความเชื่อ ตลอดจนอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ต่างๆ กัน
พื้นที่เหล่านี้จึงกลายเป็นสนามวิจัยของนักวิชาการในสาขาต่างๆ เช่น มานุษยวิทยา ประวัติศาสตร์ ภาษาศาสตร์ คติชนวิทยา และอื่นๆ การศึกษาเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นับเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจจากนักวิชาการทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศมาอย่างต่อเนื่องกว่าสามทศวรรษแล้ว งานศึกษาวิจัยที่มีอยู่จำนวนมากนั้น กระจัดกระจายอยู่ตามสถาบันวิชาการและมหาวิทยาลัยต่างๆ ยากในการศึกษาค้นคว้า ทำให้การเชื่อมโยงความรู้เกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ การพัฒนาองค์ความรู้ ทิศทางการวิจัยเกี่ยวกับชาติพันธุ์ และประมวลองค์ความรู้ด้านชาติพันธุ์ในประเทศไทยเป็นไปด้สยความยากลำบาก และไม่รอบด้านเท่าที่ควร
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ได้ริเริ่มโครงการพัฒนาฐานข้อมูลงานวิจัยทางชาติพันธุ์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 เพื่อเป็นการกระตุ้นและส่งเสริมให้นักวิชาการรุ่นใหม่มีความสนใจในเรื่องที่เกี่ยวกับชาติพันธุ์ และมีแหล่งข้อมูลที่สามารถสืบค้นได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ซึ่งสามารถใช้แบบออนไลน์จากฐานข้อมูลที่ถูกจัดอย่างมีระบบซึ่งสืบค้นได้ง่าย เพื่อให้ผู้สนใจสามารถเรียกใช้ข้อมูลตามประเด็นสำคัญ และสามารถประมวลเนื้อหาสาระที่เป็นพื้นฐานต่อการพัฒนาประเด็นวิจัยในเชิงลึกต่อไป
การดำเนินการ โครงการฯ นี้ริเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 ในวาระที่คุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ เป็นผู้อำนวยการศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร และดำเนินการต่อโดย ดร.ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล ผู้อำนวยการศูนย์ฯ ในระยะต่อมา ได้มอบหมายคณะทำงานโครงการพัฒนาฐานข้อมูลงานวิจัยทางชาติพันธุ์ประกอบด้วย ดร.ฉวีวรรณ ประจวบเหมาะ (กรรมการวิชาการศูนย์ฯ เป็นหัวหน้าโครงการ) น.ส.สรินยา คำเมือง น.ส.สมรักษ์ ชัยสิงห์กานานนท์ (นักวิชาการศูนย์ฯ) นายสกุล สาระจันทร์ (โปรแกรมเมอร์ของศูนย์ฯ) น.ส.บุญสม ชีรวณิชย์กุล และ น.ส.อธิตา สุนธโรทก (นักวิชาการอิสระทำหน้าที่นักวิจัยผู้ช่วย) ให้เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ ซึ่งได้ดำเนินการระหว่าง พ.ศ. 2546-2552
ในปี 2554 โครงการฯ จะเพิ่มงานวิจัยชาติพันธุ์ที่เป็นงานหลักของโครงการแล้ว และจะขยายกรอบการทำงานด้านชาติพันธุ์ใน 3 มิติ คือ งานฐานข้อมูลงานวิจัยชาติพันธุ์ งานเครือข่าย และงานวิชาการ โดยจะนำเสนอความรู้ ข่าวสาร ความเคลื่อนไหวในแวดวงเครือข่าย เป็นตัวกลางในการสร้างความเข้าใจและเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐ องค์กรอิสระ กลุ่มชาติพันธุ์ และสื่อมวลชนให้มีความเข้าใจและเคารพในวัฒนธรรมที่หลากหลาย พร้อมทั้งนำเสนอบทความ เสวนาวิชาการให้สอดคล้องกับประเด็นปัญหาที่น่าสนในสถานการณ์ปัจจุบัน
วันที่ปรับปรุงทรัพยากรล่าสุด | |
วันที่สร้างทรัพยากร | |
รูปแบบของไฟล์ชุดข้อมูล |
รหัสชุดข้อมูล | aef490ed-4717-4568-969b-f7fcd4fb25cb |
วันที่สร้างชุดข้อมูล | 14 ธันวาคม 2563 |
ขอบเขตเชิงภูมิศาสตร์ | Thailand |
กลุ่มชุดข้อมูล | ศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม |
ป้ายกำกับ | ชาติพันธุ์ วัฒนธรรม วิจัย ศมส หลากหลาย |
ชื่อผู้ติดต่อ | ผู้ดูแลระบบ |
อีเมลผู้ติดต่อ | webmaster@sac.or.th |
ระดับในการเข้าถึงข้อมูล | สาธารณะ |
ความถี่ในการปรับปรุง | ไม่มีการปรับปรุง |
High Value Dataset | ไม่แสดง |
วันที่ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด | 14 ธันวาคม 2563 |
สัญญาอนุญาต | DGA Open Government License |





